การสำรวจ เป็นศาสตร์และเทคนิคในการกำหนดตำแหน่งในสามมิติ และการหาความสัมพันธ์ของตำแหน่งต่างๆ ที่อยู่เหนือ บน หรือใต้ผิวโลก ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการวัดระยะระหว่างจุด การวัดมุม และการหาทิศทางของแนวเส้นตรง โดยปริมาณต่างๆที่รังวัดได้ในภาคสนาม ซึ่งได้แก่ ระยะราบ ระยะดิ่ง ระยะลาด มุมราบ และมุมดิ่ง จะนำมาคำนวณและนำไปสร้างแผนที่เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป
การสำรวจนับเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ ตั้งแต่มีการเริ่มการบันทึกปรัวัติศาสตร์เมื่อประมาณ 65,000 ปีมาแล้ว
การสำรวจนับเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ตั้งแต่เริ่มบันทึกทางประวัติศาสตร์ เมื่อประมาณ 5,000 ปีมาแล้ว การสำรวจจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการวางแผนและจัดการในทุกรูปแบบของการก่อสร้าง รวมทั้งความสำคัญสำหรับการปฏิบัติงานในทุกสาขาวิชาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านวิศวะกรรม ดังนั้น ช่างสำรวจและวิศวกรจึงควรมีความรู้ทางด้าน พีชศาสตร์ เรขาคณิต ตรีโกณมิติ รวมทั้งฟิสิกส์ และกฎหมาย
ในปัจจุบัน ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี ก่อให้เกิดการประยุกต์ใช้ศาสตร์นี้ในด้านต่างๆเพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ หรือข้อมูลเชิงพื้นที่ จึงได้เกิดคำใหม่ที่ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขว้างคือ ‘’ Geomatics ‘’ ซึ่งเป็นแนวคิดของการรวมคำ Geodesy และ Geoinformatics เข้าด้วยกันโดยคริบคลุมศาสตร์แขนงต่างๆ ได้แก่ สำรวจภาคพื้นดิน การสำรวจด้วยภาพถ่าย การสำรวจระยะไหล การสำรวจแผนที่ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ระบบดาวเทียมเพื่อการนำหน รวมถึงศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำแผนที่ของพิภพ
การสำรวจนั้นมีตจุดมุ่งหมายเพื่อการทราบตำแหน่ง ทิศทาง รูปร่าง ขอบเขต พื้นที่ ปริมาณ หรือกำหนดสูงโดยขึ้อยู่กับการสำรวจแต่ละชนิด ซึ่งมีความต้องการข้อมูลที่แตกต่างกันออกไป การสำรวจนั้นสามารถแบ่งออกต่ามลักษณะการใช้งานดังนี้
- การสำรวจควบคุม : การสำรวจเพื่อสร้างมุดควบคุม มีความจำเป็นต้องปฏิบัติงานการสำรวจให้มีความละเอียดสูงเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและแม่นยำต่อการนำไปใช้อ้างอิง
- การสำรวจภูมิประเทศ :การสำรวจเพื่อกำหนดตำแหน่งต่างๆบนพื้นผิวโลก ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจจะนำมาเขียนแผนภูมิประเทศ
- การสำรวจด้วยภาพถ่ายทางอากาศ : สามารถกระทำได้โดยเครื่องบิน หรือดาวเทียม เพื่อให้เห็นสภาพภูมิประเทศโดยรวม
- การสำรวจแนวทาง : เพื่อกำหนดแนวเส้นทางโดยส่วนใหญ่จะมีความเกี่ยวข้องทางการคมนาคมและการสื่อสาร
- การสำรวจที่ดิน : การสำรวจเพื่อระบุมุดหลักเขต รวมทั้งกำหนัดหลักเขต ระยะ ทิศทางของที่ดิน ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการจัดการเกี่ยวกับกรมมสิทธิ์ในที่ดิน
- การสำรวจทางวิศวกรรม : การสำรวจเพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการออกแบบทางด้านวิศวกรรมในโครงการต่างๆ
- การสำรวจอุทกศาสตร์ : การสำรวจที่เกี่ยวข้องกับส่วนที่เป็นพื้นน้ำ เช่นการหาระดับร่องน้ำเพื่อการเดินเรือ
- การสำรวจเหมืองแร่ : การสำรวจเพื่อกำหนดตำแหน่งจุดบังคับต่างๆเพื่อเป็นประโยชน์ในงานธรณีวิทยาและการทำเหมือง